วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

             คำ "มงคล" หมายความถึงเหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวงหรือ
อาจแปลให้ง่ายว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า หรือทางก้าวหน้านั่นเองมงคลสูตร เป็นพระสูตรในพระพุทธศาสนา มีที่มาจากพระไตรปิฏก พุทธศาสนิกชนไทยรู้จักกันดีในเวลาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลทั่วไป จะต้องสวดบทมงคลสูตรเสมือนโดยปกติเมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มาถึงบทมงคลสูตร องค์ที่เป็นประธานจะเริ่มหยดเทียนลงในขันน้ำพระพุทธมนต์สำหรับใช้พรม เพื่อเป็สัญลักษณ์ของสิริมงคลตามคตินิยม ทั้งนี้เพราะเนื้อความในมงคลสูตรกล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ

๑) ไม่คบคนพาล
             คนพาลคือคนที่ทำชั่วทางกาย  ทางวาจา  ทางใจ  อันได้แก่ ทุจริตกรรม ๑๐ หรืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง คนพาลที่มีความประพฤติอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบหาเข้าใกล้ เพราะเมื่อคบหาเข้าใกล้ชิดสนิทสนมด้วย ก็จะทำให้เรามีใจโน้มเอียงคล้อยตาม ยินดีชอบใจในการกระทำของเขา เอาอย่างเขา อันจะเป็นเหตุให้เรากลายเป็นคนพาลไปด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบคนพาล ไม่ควรฟังคำพูดของคนพาล ไม่ควรอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่ควรเจรจาปราศรัยกับคนพาล ไม่ควรชอบใจความประพฤติของคนพาล เพราะคนพาลนำมาแต่ความพินาศเพียงประการเดียว  

๒) บูชาบุคคลที่ควรบูชา   
     การบูชาคือการเลื่อมใสยกย่องเชิดชูต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลังบุคคลที่ควรบูชา
1. พระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอน พระพุทธรูป พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถาน ฯลฯ

2. พระสงฆ์ พระธาตุ รูปพระสงฆ์สาวก ฯลฯ

3. พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม

4. บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ที่มีความประพฤติดี

5. ครูอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ ความประพฤติดี

6. ผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม

7. บัณฑิตที่สูงเกินกว่าจะคบในฐานะเดียวกัน
การแสดงการบูชา ทำได้โดยทางกาย วาจา ใจ

๓)มีวินัย 
            วินัยคือระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย  วาจา ใจ ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ร่วมกันด้วยความสุข วินัยช่วยให้สังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย วินัยใช้ควบคุมคน  ให้ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร  






 

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

       เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง คือสัจธรรม หรือสัจธรรมยืนอยู่ข้างคนส่วนใหญ่ การตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ย่อมไม่ผิดพลาด ย่อมถูกต้องเสมอ ในกรณีที่ประกอบอาชีพเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนั้น และท่านพบว่าคนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ร่วมกันกำหนดราคาคนส่วนใหญ่ซื้อบ้านในราคาตลาด ราคานั้นก็จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงเมื่อมีตลาด ก็จะมีราคาเพราะตลาดเป็นแหล่งสังเคราะห์อุปสงค์และอุปทานให้ออกมาเป็นราคาตลาด ถ้าเราไม่ฟังเสียงตลาดหรือคนส่วนใหญ่ เราก็จะไม่สามารถทราบราคาที่แท้จริงได้

       สังคมในยุคนี้ทุกคนต่างนิยมใช้มติของเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินว่าจะดำเนินการเรื่องต่างๆไปได้อย่างไร ซึ่งโดยหลักแล้วทุกคนควรทำตามไปเช่นนั้นแม้ว่าจะเห็นต่างออกไป ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าและความเรียบร้อยในสังคมเป็นส่วนรวม  แต่ในบางกรณี ความเห็นที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือขัดต่อศีลธรรม โดยความเห็นที่ถูกต้องเป็นเสียงส่วนน้อย หรือไม่อาจโน้มน้าวให้คนส่วนใหญ่เห็นคล้อยตามได้


       เสียงส่วนใหญ่คือผู้ชนะ คือความถูกต้องนั้นในกรณีนี้ไม่เสมอไปว่าเสียงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชนะเสมอจะต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในการใช้เสียงส่วนใหญ่ด้วย ตัวอย่างเช่น ในกรณีการตัดสินคดีความของลูกขุน ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีเหตุผลในการตัดสินคดีความแต่ผลสุดท้ายแล้วก็ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินว่าเสียงส่วนใหญ่จะต้องเป็นผู้ชนะ หรือ ในการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยซึ่งประเทศไทยของเราก็ใช้การปกครองนี้ในการปกครองประเทศโดยที่ประชาชนในประเทศมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกันทุกคน เพราะฉะนั้นในการลงมติ ขอความเห็น หรือการเลือกตั้งแบบรัฐสภาที่มีผู้แทนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนนั้นทุกคนก็จะต้องเห็นไปตามเสียงส่วนใหญ่ในกรณีนี้ก็ถือว่าเสียงส่วนคือผู้ชนะ หรือเสียงส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ถูกต้องนั่นเอง


       แต่เสียงส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไปหากเสียงส่วนใหญ่ยังเป็นเสียงที่หลงผิด ไม่ว่าจะเป็นเสียงส่วนใหญ่ หรือส่วนน้อยก็คือความถูกต้องได้เช่นกันแต่เราต้องมาตีความคำว่า "ความถูกต้อง" กันให้ดีเสียก่อนว่าอันที่จริงแล้วอะไรคือความถูกต้อง ความถูกต้องก็คือ การคิดดี คิดชอบ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่บนหลักของศีลธรรม จริยธรรมอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายหากใครได้รับเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่คนที่คิด ทำดี นั่นคือ"ความไม่ถูกต้อง" ในอีกกรณีหนึ่งซึ่งไม่ได้เป็นการตัดสินว่าแพ้หรือชนะ แต่เป็นการตัดสินความถูกต้อง เสียงส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นผู้ชนะ หรือผู้ที่ถูกต้องเสมอไป ตัวอย่างเช่น ในการทำข้อสอบ ถ้ามีคนอยู่ 20 คน แล้วถ้าให้ทั้ง 20 คนทำข้อสอบ ถ้า 19 คน ตอบข้อ ก. และมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ตอบข้อ ข. ผู้ที่ตอบเหมือนกันทั้ง 19 คนซึ่งเป็นเสียงข้างมากแต่ก็เป็นคำตอบที่ผิด และมีเพียง 1 คนเท่านั้นถึงจะเป็นเป็นเสียงส่วนน้อยแต่ก็เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น การที่จะพูดว่าเสียงส่วนใหญ่เป็นผู้ชนะ หรือ เป็นความถูกต้องนั้นต้องขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีว่าเราจะเอาเสียงส่วนใหญ่นั้นตัดสินอะไร